top of page

LUTE SUITE BWV 995

ในเพลง Lute Suite BWV 995 เดิมเป็นบทประพันธ์สำหรับเครื่องดนตรีฮาร์ปซิคอร์ด และได้มีการปรับเปลี่ยนให้สามารถเล่นได้บนเครื่องดนตรีลูทหรือกีตาร์โบราณ และยังคงเป็นที่นิยมของนักกีต้าร์คลาสสิกในปัจจุบัน ประกอบไปด้วยทั้งหมด 7 ท่อน

  1. Prelude 

  2. Allemande

  3. Courante

  4. Sarabande

  5. Gavotte I

  6. Gavotte II en Rondeau

  7. Gigue

สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ได้ยกตัวอย่างของท่อน Prelude มาวิเคราห์โครงสร้างและลักษณะสำคัญที่น่าสนใจ

Prelude แปลว่า "โหมโรง" ในภาษาไทย และโหมโรงของ Suite ชุดนี้ประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ บทร่าย (Recitative) และ บทหลัก (Presto : Theme and Variation) 

Prelude ส่วนที่ 1 - บทร่าย

ห้องที่ 1 - 3

1.png

รูปที่ 1 : Prelude ( ห้องที่ 1 - 3 )

ช่วงแรกจะเปิดตัวด้วยบันไดเสียง A ไมเนอร์ ให้อารมณ์ความรู้สึกเหมือนการเกริ่นแบบเดียวกับที่ผู้ดำเนินเรื่องในตอนต้นของละครเวทีมักจะกล่าว

บทประพันธ์ลักษณะนี้มักจะอยู่ในรูปแบบการเชิญชวนอยู่แล้ว แต่สำหรับ Prelude บทนี้นั้น กลับเป็นการใช้บันไดเสียงที่มีความหดหู่ แต่บาคได้นำเอาสเกล Melodic minor ขาขึ้นแทน ซึ่งการไล่บันไดเสียงแบบนี้ บ่งบอกได้ชัดเจนว่า ถึงจะไม่ได้มีความหมายที่น่าชักชวนมากนัก แต่ก็ยังคงความสวยงามของการประพันธ์อยู่ดี
 

ห้องที่ 3 - 5 

2.png
2_edited.jpg

รูปที่ 2 : Prelude ( ห้องที่ 3 - 5 )

เป็นช่วงที่ล้อกับประโยคแรกของท่อนนี้ และได้ใช้วิธีการดำเนินทำนองและเสียงประสานแบบ Contrary motion ตามหลักของการเล่น Figure Bass accompaniment และจบประโยคด้วยคอร์ด iv เป็นสัญญาณของการเตรียมออกเดินทาง
 

ห้องที่ 5 - 7 

3.png

รูปที่ 3 : Prelude ( ห้องที่ 5 - 7 )

คอร์ด iv ถูก Invertion ให้มีความกว้างมากขึ้น และมีการใช้ Suspension เพื่อค้าง Tension และ Resolve vi กลับมายังจุดเดิม iv
 

ห้องที่ 7 - 9  

4.png

รูปที่ 4 : Prelude ( ห้องที่ 7 - 9 )

ผลจากการกลับมาจุดเดิมนั้นก็ส่งมา Resolve ต่อในห้องที่ 8 และลงจบที่ A minor ตามเดิม

 

ข้อสังเกตที่น่าสนใจของช่วงแรกนี้ก็คือ การที่ผู้ประพันธ์ได้หยิบใช้แนวประสานต่างๆมาสนับสนุนแนวทำนองแทน อีกทั้งยังมีการยืมแนวทำนองจากแนวประสานก่อนหน้า มาทำให้เกิดความลื่นไหลในการบรรเลง และไม่เกิด Tension ที่รุนแรงมากจนเกินไป
 

ห้องที่ 9 - 11 

5.png
Screen Shot 2563-04-26 at 22.11.12.png

รูปที่ 5 : Prelude ( ห้องที่ 9 - 11 )

มีการเตรียมที่จะ Modulate ไปยัง E major
 

ห้องที่ 12 - 13 

6.png

รูปที่ 6 : Prelude ( ห้องที่ 12 - 13 )

กลับมายังสเกลแรกเดิมตอนแรกด้วย การเริ่มคีย์ใหม่ ( E major ) เข้าสู่ช่วง Development โดยแปรทำนองมาจากช่วงต้นเพลง V7
 

ห้องที่ 13 - 14 

7.png

รูปที่ 7 : Prelude ( ห้องที่ 13 - 14 )

ไหล่แนวทำนองไปสู่ Chord 7 เพื่อ relative กลับไปยัง Key center
 

ห้องที่ 14 - 15 

Screen Shot 2563-04-26 at 22.26.45.png
Screen Shot 2563-04-26 at 22.27.05.png

รูปที่ 8 : Prelude ( ห้องที่ 14 - 15 )

วกกลับมายัง Key center เพื่อนัดหมายและปรับการฟังให้ยังอยู่ในบันไดเสียงนี้คงที่
 

ห้องที่ 15 - 16  

Screen Shot 2563-04-26 at 22.35.32.png

รูปที่ 9 : Prelude ( ห้องที่ 15 - 16 )

มีการเชื่อมโยงไปยัง V/iv และมีการทับซ้อนกันของ diminish7 ควบคู่ด้วย เป็นเทคนิคการผสานเสียงให้เต็มมากขึ้น

ห้องที่ ( 16 - 18 ) 

Screen Shot 2563-04-26 at 22.35.54.png

รูปที่ 10 : Prelude ( ห้องที่ 16 - 18 )

เลื่อนมาที่คีย์ D minor เพื่อลด Tension ที่เกิดขึ้นจาก Chord ก่อนหน้านี้ลง ส่งเข้า G7  
 

ห้องที่ ( 18 - 19 ) 

Screen Shot 2563-04-26 at 22.41.31.png
Screen Shot 2563-04-26 at 22.41.46.png

รูปที่ 11 : Prelude ( ห้องที่ 18 - 19 )

ร่ายต่อมาละเปลี่ยนเข้าคีย์ C Major
 

ห้องที่ ( 19 - 20 ) 

Screen Shot 2563-04-26 at 22.45.43.png

รูปที่ 12 : Prelude ( ห้องที่ 19 - 20 )

และ Relative กลับมายัง Key center ที่เดิม
 

ห้องที่ ( 20 - 21 ) 

Screen Shot 2563-04-26 at 22.46.13.png

รูปที่ 13 : Prelude ( ห้องที่ 20 - 21 )

เข้าสู่ VII2 ซึ่งก็คือส่วนขยายของ V7 และเตรียมที่จะย้ายต่อไปยังคีย์ถัดไป
 

ห้องที่ ( 21 - 23 ) 

Screen Shot 2563-04-26 at 22.50.58.png
Screen Shot 2563-04-26 at 22.51.08.png

รูปที่ 14 : Prelude ( ห้องที่ 21 - 23 )

แนวทำนอง 2 ห้องแรกมีการปรากฎชัดเจนว่า อยู่ในบันไดเสียง E minor ซึ่งเป็น i ของ V ของ V ของ i
 

ห้องที่ ( 23 - 24 ) 

Screen Shot 2563-04-26 at 22.58.52.png

รูปที่ 15 : Prelude ( ห้องที่ 23 - 24 )

สเกลขาลง Melodic minor และกลับเข้าสู่ Key center
 

ห้องที่ ( 24 - 26 ) 

Screen Shot 2563-04-26 at 23.14.27.png
Screen Shot 2563-04-26 at 23.20.21.png

รูปที่ 16 : Prelude ( ห้องที่ 24 - 26 )

แต่สเกลที่ใช้ในชุดนี้ยังคงอิงเป็รสเกลในบันไดเสียง E minor เช่นเดิม
 

ห้องที่ ( 26 - 28 ) 

Screen Shot 2563-04-26 at 23.23.13.png

รูปที่ 17 : Prelude ( ห้องที่ 26 - 28 )

และสำหรับสเกลขาขึ้นที่กำลังจะพุ่งไปยังจุด Tension ซึ่งเราสามารถเรียกตรงนี้ว่าเป็น Cadenza ได้ เนื่องจากว่าอยู่ในตำแหน่งก่อนท่อนจบและมีแนวโน้มในการส่งช่วงทำนองไปสู่ Key center หรือ Dominant ก็ได้
 

ห้องที่ ( 28 - 30 ) 

Screen Shot 2563-04-26 at 23.23.33.png

รูปที่ 18 : Prelude ( ห้องที่ 28 - 30 )

จบด้วย Dominant เพื่อส่งต่อไปยังท่อนถัดไป
 

Presto ส่วนที่ 2 - บทหลัก

ห้องที่ ( 1 - 9 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 11.28.00.png
Screen Shot 2563-05-09 at 09.37.45.png

รูปที่ 1 : Presto ( ห้องที่ 1 - 7 )

Theme ของ Presto บทนี้ ซึ่งจะปรากฎอยู่เรื่อยๆตามจุดต่างๆของบทเพลง
 

ห้องที่ ( 9 - 16 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 13.14.18.png
Screen Shot 2563-05-06 at 13.14.31.png

รูปที่ 2 : Presto ( ห้องที่ 9 - 16 )

ส่วนนี้ถึงจะมีลักษณะที่สามารถเรียกว่าเป็น modulate ของ Theme ได้เช่นกัน แต่ในอีกแง่นึง แนวทำนองมีการ Transpose ขึ้นไปโดยการเพิ่มความลึกของเสียงสามารถเป็น Confirmatio (เป็นการยืนยันสิ่งที่ได้กล่าวไปก่อนหน้า) สั้นๆได้ด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นการใบ้ให้ทราบว่าจะเกิดอะไรต่อไป
 

ห้องที่ ( 16 - 36 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 13.21.54.png
Screen Shot 2563-05-06 at 13.23.01.png
Screen Shot 2563-05-06 at 13.24.05.png

รูปที่ 3 : Presto ( ห้องที่ 16 - 36 )

มีการค้าง Tension ของปลายประโยคก่อนหน้าเพื่อย้อนกลับมา key center ใน position ที่เปลี่ยนไป และลักษณะการประพันธ์ที่แยกแนวทำนองย้ายไปยังแนวประสานต่างๆ เสมือน Variation ที่ต้องการให้แนวทำนองมีมิติมากขึ้น และได้ประดับส่วนเล็กๆของ Theme ไว้ในแนวทำนอง พร้อมทั้งแนวประสานร่วมกันด้วย
 

ห้องที่ ( 36 - 45 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 13.32.13.png
Screen Shot 2563-05-06 at 13.32.48.png
Screen Shot 2563-05-06 at 13.32.59.png

รูปที่ 4 : Presto ( ห้องที่ 36 - 45 )

เป็นช่วงที่คลาย Tension ทั้งหมดโดยการใช้การไล่บันไดเสียง โดยลดหัว Sequence ของทุกประโยคย่อยเป็นคู่สาม ยืมมาจากการเรียงแนวทำนองของ Theme
 

ห้องที่ ( 45 - 52 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 13.40.03.png

รูปที่ 5 : Presto ( ห้องที่ 45 - 52 )

Confirmatio รอบที่ 2 เพื่อย้าย Key center เข้าสู่ Relative key 
 

ห้องที่ ( 52 - 75 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 13.45.32.png
Screen Shot 2563-05-06 at 13.45.51.png
Screen Shot 2563-05-06 at 13.46.14.png
Screen Shot 2563-05-06 at 13.46.26.png
Screen Shot 2563-05-06 at 13.47.10.png

รูปที่ 6 : Presto ( ห้องที่ 52 - 75 )

Confutatio หรือ Development ที่เห็นได้ชัดว่าวิธีการเรียงของแนวทำนองก็ได้พัฒนามาจากสเกลขาขึ้นสามตัวของ Theme นำมาดันแปลงทั้งค่าจังหวะและ Modulate ไปยัง Key ต่างๆเรื่อยๆก่อนจะส่งกลับมายัง Key center
 

ห้องที่ ( 75 - 82 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 13.55.16.png
Screen Shot 2563-05-06 at 13.55.27.png

รูปที่ 7 : Presto ( ห้องที่ 75 - 82 )

หากจำได้ก็จะรู้ได้ทันทีว่าได้กลับมายัง Confirmatio รอบแรก แต่มี Variation ของเสียงมากขึ้นและส่งจบด้วย Dominant สร้าง Tension เริ่มต้น
 

ห้องที่ ( 82 - 91 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 14.01.37.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.02.01.png

รูปที่ 8 : Presto ( ห้องที่ 82 - 91 )

ต่อเนื่องมายัง V/V จาก  Key center และ คลาย Tension ลงกลับมายัง Key center 
 

ห้องที่ ( 91 - 111 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 14.13.15.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.13.32.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.13.49.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.13.58.png

รูปที่ 9 : Presto ( ห้องที่ 91 - 111 )

Confutatio รอบที่ 2 ที่ยืมการสร้างมิติของเสียงจาก Variation เข้ามา อีกทั้งยังแปรทำนองหลักมีความกว้างมากขึ้น
 

ห้องที่ ( 111 - 123 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 14.18.32.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.18.41.png

รูปที่ 10 : Presto ( ห้องที่ 111 - 123 )

เป็นท่อนที่คลาย Tension ที่เกิดขึ้นก่อนหน้าอีกครั้ง และยังคงยืนบน Key center
 

ห้องที่ ( 123 - 148 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 14.23.08.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.22.57.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.24.02.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.24.12.png

รูปที่ 11 : Presto ( ห้องที่ 123 - 148 )

เข้าสู่ช่วงของบทสรุป Theme ได้กลับมาดังเดิม และมีการเติมแนวทำนองหนักแน่น ในกรณีนี้เสมือนเป็นการยืนยันในสิ่งที่ผู้เล่าต้องการจะสื่อสารไปยังผู้ฟัง และ Develop ช่วงท้ายของประโยคออกมาให้เกิด Tension ซึ่งแสดงถึงการย้ำใจความส่วนนี้ให้เกิดความสำคัญ
 

ห้องที่ ( 148 - 169 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 14.29.14.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.32.41.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.29.39.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.29.50.png

รูปที่ 12 : Presto ( ห้องที่ 148 - 169 )

ในส่วนของ Theme นี้ จะเป็นการโต้กลับไปยังช่วงก่อนหน้า และใช้แนวทำนองล้างการฟังออกเพื่อกลับมายัง Key center ที่แท้จริง และยังมีการ Development แบบเดิมที่เกิดขึ้นในต้นดพลงแต่ได้เปลี่ยนเป็นการกระโดดคู่ diminish 7 เป็นสัญลักษณ์ของการเข้าสู่ช่วงท้ายของบทเพลง
 

ห้องที่ ( 169 - 181 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 14.41.20.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.41.32.png
Screen Shot 2563-05-06 at 14.41.41.png

รูปที่ 13 : Presto ( ห้องที่ 169 - 181 )

ใช้ Sequence ของ Theme มาตอบโต้กัน ก่อนจะสร้าง Tension จนทำให้เกิด Cadanza scale เล็กๆ และส่งกลับไปยัง Key center
 

ห้องที่ ( 181 - 196 ) 

Screen Shot 2563-05-06 at 14.45.24.png

รูปที่ 14 : Presto ( ห้องที่ 181 - 196 )

เป็นการย้ำ Key center และ Modulate ลง Dominant จบ Tonic ตามเดิม
 

bottom of page