top of page

ELEGIE

บทเพลงนี้เป็นอยู่ในบันไดเสียง A ไมเนอร์ รูปแบบฟอร์มเพลงนั้นอยู่ในรูปแบบ Theme and Variations มีทำนองหลักอยู่ทั้งหมด 2 ทำนอง และทั้ง 2 ทำนองนั้นมีการพัฒนาไปเป็น Variation ทั้งหมด 2 ครั้ง

Theme A ( ห้องที่ 1 - 12 )

E1.png

รูปที่ 1 : Elegie ( ห้องที่ 1 - 12 )

เข้า Theme ด้วยบันใดเสียง A ไมเนอร์ซึ่งโดยธรรมชาติของบันใดเสียงเมเนอร์ จะให้อารมณ์ความรู้สึกถึงความโศกเศร้า
 

Theme B ( ห้องที่ 12 - 23 )

E2.png

รูปที่ 2 : Elegie ( ห้องที่ 12 - 23 )

ก่อนที่จะเข้าTheme B นั้น มีการใช้คอร์ด Tension , Resolve และจังหวะ ที่ให้อารมณ์ความรู้สึก ไม่มั่นคง 

Theme  B นั้นจะมีการใช้เทคนิค Arpeggio (โน้ตแยก) มีการกลับมาใช้ทำนองที่ยืดเยื้อก่อนจะใช้คอร์ดที่ 5 ให้อารมณ์ความรู้สึกที่ความสับสนวุ่นวายหรือว่าให้ความรู้สึกเว้งว้าง และกลับไปที่คอร์ด 1 ตามหลักของทฎษฎี

ในส่วนของเทคนิคเชิงปฏิบัติการเราเรียกวิธีการเล่นเทคนิคนี้ว่า Arppegio ซึ่งเทคนิคนี้จะใช้ความความเร็วและคล่องของมือซ้ายอย่างมากซึ่งผู้เล่นนั้นได้ให้วิธีการวางแผนนิ้วให้สมองของผู้เล่นคิดก่อนที่นิ้วจะวางและพอรู้สึกว่านิ้วคล่องขึ้งตัวผู้เล่นจะเล่นพร้อนเมโทนอมและเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆจนถึงความเร็วที่ผู้แต่งเพลงต้องการ

Theme A  ,1 st Variation ( ห้องที่ 23 - 38 )

E3.png

รูปที่ 3 : Elegie ( ห้องที่ 23 - 38 )

กลับมาที่ Theme A อีกครั้ง ครั้งนี้มีการแปรทำนอง มีการพัฒนาจากตอนแรกคือเพิ่มมีโน้ต Theme หลักที่เยอะขึ้นและมีแนวเสียงประสานที่ดีดแยกเป็นตัวๆซึ่งจากเดิมดีดพร้อมกันเป็นคอร์ด

Theme B  , 1st Variation ( ห้องที่ 38 - 47 )

E4.jpg

รูปที่ 4 : Elegie ( ห้องที่ 38 - 47 )

ช่วง Transition ในห้องที่ 38 มีการใช้คอร์ดที่หนักและโน้ตเบสของแต่ละคอร์ดเดินลงเป็นโน้ตครึ่งเสียง ( Chomartic ) จนไปถึงคอร์ด Diminish และ  Resolve เข้าคอร์ด 5 ของบันใดเสียง A ไมเนอร์ ในส่วนของจังหวะที่หนักและส่วนของจังหวะเป็นขเบ็ต 2 ชั้น ที่ให้อารมณ์ความรู้สึกที่น่าตื่นเต้น 

Theme B  มีการแปรทำนองโดยการปรับแนวทำนองให้มีระดับเสียงที่สูงขึ้นโดยมีโน้ตตัว D# เป็น Tension และ โน้ตตัว E เป็นโน้ต Resolve และช่วงกลางมีการใส่คอร์ดที่ 5 จังหวะที่ 1 ในทุกห้องของช่วงนี้ 

ในส่วนของเทคนิคเชิงปฏิบัติการเราเรียกวิธีการเล่นเทคนิคนี้ว่า Arppegio ซึ่งเทคนิคนี้จะใช้ความความเร็วและคล่องของมือซ้ายอย่างมากซึ่งผู้เล่นนั้นได้ให้วิธีการวางแผนนิ้วให้สมองของผู้เล่นคิดก่อนที่นิ้วจะวางและพอรู้สึกว่านิ้วคล่องขึ้นตัวผู้เล่นจะเล่นพร้อนเมโทนอมและเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆจนถึงความเร็วที่ผู้แต่งเพลงต้องการ

Transition ( ห้องที่ 46 - 47 )

E5.jpg

รูปที่ 5 : Elegie ( ห้องที่ 46 - 47 )

จบทำนองหลัก B 1st variation ในห้องที่ 46 และใช้คอร์ดเชื่อม ( Transition ) โดยที่นักแต่งเพลงได้ใช้คอร์ดที่ 5 โดยในคอร์ดนี้จะมีโน้ต Tension คือตัว G# ซึ่งเขาใด้ใช้คอร์ดนี้ขึ้นไปเป็น Octave  และใช้คอร์ดพลิกกลับให้คอร์ดมีเสียงที่สูงขึ้นและหนักขึ้นเพื่อที่จะกลับเข้าสู่ Theme 1 ที่จะมีความเข้มข้นของความดังและเสียงกว่าช่วงต้นเพลง

Transition ( ห้องที่ 47 - 61 )

E3.png

รูปที่ 6 : Elegie ( ห้องที่ 47 - 61 )

กลับเข้าสู้ Theme  A 1st variation ซึ่งมีความเข้มข้นของเสียงเยอะกว่าช่วงต้นเพลงเพราะช่วงก่อนหน้านี้มีใช้คอร์ดหนัก ( Tension Chord ) เดินทางมาจึงถึง Theme เป็นเหตุผลที่ช่วงนี้มีความเข้มข้นของ Theme และคอร์ดข้นข้างมาก

Coda ( ห้องที่ 61 - 68 )

E6.jpg

รูปที่ 7 : Elegie ( ห้องที่ 61 - 68 )

ช่วงต้นของ Coda นั้นมีการใช้เทคนิคที่เหมือนกับ Theme B  (ในห้องที่ 12 - 23 ) ในช่วงนี้มีประโยคถาม - ตอบ สลับกันระหว่างแนวเบสและแนวทำนองมีการย้ำคอร์ด 5 ไป 1 ไปเรื่อยๆ และมีการ Resolve เป็น Chomatic ( G# , G , F# , F , E , A ) จนเข้าไปคอร์ดที่ 1 ( A เมเนอร์ ) จนจบเพลงอย่างช้าๆให้ความความรู้สึกถึงความจบสมบูรณ์
 

bottom of page