top of page

Johann Kaspar Mertz

Elegie

การตีความเพลงของเขาจะอ้างอิงจากจังหวะหรือเล่นตามจังหวะเป็นส่วนใหญ่แต่เขาจะมีการรูบาโต้เล็กน้อยแต่ยังอยู่ในจังหวะ โดยจังหวะที่เขาเลือกเล่นนั้นค่อนข้างเร็วกว่าจังหวะที่เพลงกำหนดให้ 

จบ Intro เขา Development เป็นการโชว์เทคนิค arpeggio ซึ่งให้อารมณ์ความรู้สึกที่สับสนวุ่นวายเพราะด้วยการใช้คอร์ด 5 ไป 1 และสร้างความตึงเครียดบนโน้ตตัว ฟา และในนาทีที่ 2.10 ในเพลงกำหนดให้เล่นเทคนิคสไลท์จากตัวโด ไปหา ตัวซี แต่เขาเลือกที่จะเล่นดีดทั้งหมดและเป็นแบบนี้ทั้งเพลงแม้กระทั่งนาทีที่ 3.15 ,  3.17 และอื่น ๆ เป็นต้น โดยที่ในพลงนักแต่งเพลงในใช้เทคนิคสไลด์เพื่อเขาต้องการเสียงที่คมและชัดเจน

ในนาทีที่ 5.13 เป็นประโยคก่อนเข้าทำนองหลักประโยคนี้มีการใช้คอร์ด tension ค่อนข้างเยอะซึ่งตามหลักแล้วต้องเล่นดังขึ้นและ resolve แต่เขาเลือกที่จะเล่นประโยคนี้เบาก่อนเข้าทำนองหลักเพื่อที่เขาต้องการที่จะทำในประโยคก่อนเพลงและทำนองหลักเชื่อมกัน เป็นต้น

ช่วง Intro เขาเล่นตามโน้ตและจังหวะที่ไม่มีการยือจังหวะเพื่อที่เขาต้องการที่จะคงจังหวะไว้อยู่ในช่วงแรกของเพลง ในนาทีที่ 1.46 จบ Intro เข้าสู่ช่วง Development เขาเลือกที่จะใช้การเว้นวรรคจาก Intro เข้าสู่ Development ค่อนข้างนานกว่าในเพลงที่นักแต่งเพลงกำหนดเพื่อที่จะทำให้คนฟังรู้อย่างชัดเจนว่ากำลังจะเปลี่ยนท่อน

นาทีที่ 2.58 จบ Development เข้า Theme เขาใช้เทคนิค rubato ค่อนข้างเยอะกว่าในเพลงที่กำหนดให้ใช้ เพื่อที่เขาต้องการจะส่งอารมณ์ของเพลงและไอเดียที่เขากำลังจะทำในเพลงซึ่งแสดงถึงความเป็นตัวของเขาเองเป็นต้น

นาทีที่ 4.40 จบ Theme เข้าสู่ Development อีกรอบ เขาใช้วิธีเว้นวรรคได้อย่างชัดเจนเหมือนกับช่วง Intro เข้าสู่ Development

นาทีที่ 5. 52 ประโยคสุดท้ายของ Development เข้า Theme เขาเลือกที่จะเล่นเบาไปดังของโน้ตตัวสุดท้ายของประโยคและเข้าประโยคแรกของ Theme เพื่อที่เขาต้องการที่จะทำให้ช่วงประโยคนี้เนียนในรูปแบบของไอเดียเพลงที่เขาสร้างขึ้น

นาทีที่ 7.19 ช่วง Coda เขาค่อย ๆ เล่นและหนักขึ้นเพื่อสรุปเรื่องราวและไอเดียของเพลงทั้งหมดที่เขาสร้างขึ้นและค่อย ๆ เบาในตอนจบตามทิศทางของคอร์ดที่นักแต่งเพลงกำหนดให้เป็นต้น

ในช่วง Intro ของเพลง เขาเลือกที่จะใช้จัวหวะที่ช้ามาก ๆ และใช้การ rubato ตั้งแต่ช่วงแรกของเพลง

นาทีที่ 1.55 ช่วง Development เขาเลือกที่จะเล่นจากช้าไปเร็วและเล่นจากน้ำหนักที่เบาไปยังน้ำเสียงที่หนักขึ้นเพื่อที่เขาต้องการที่จะทำให้อารมณ์เพลงและทิศทางของเพลงหนักขึ้นจนจบท่อน Development 

 

นาทีที่ 3.05 เข้าสู่ Theme ใช้จังหวะที่เหมือนกับช่วง Development เพื่อที่จะทำให้คนฟังดูไม่รู้สึกขัดจนเกินไป

 

นาทีที่ 4.55  ประโยคสุดท้ายของ Development เข้าสู่ Theme เขาเลือกที่จะเล่นดังขึ้นจนจบประโยคแรกของ Theme และหลังจากนั้นค่อย ๆ เบาลงตามทิศทางของเพลง 

นาทีที่ 7.30 เข้าสู่ช่วง Coda เขาค่อย ๆ เล่นหนักขึ้นเพื่อสรุปเพลงและใช้เทคนิค rubato ที่เยอะมากซึ่งในเพลงกำหนดให้เล่นตามจังหวะเป็นต้น

bottom of page