top of page

GRAND OVERTURE

ในเพลง Grand Overture  จะอยู่ใน Sonata Form  มีช่วง 

  1. Introduction

  2. Exposition

  3. Development

  4. Recapitulation

  5. Coda

Introduction ห้องที่ ( 1 - 16 ) 

รูปที่ 1 : Grand Overture ( ห้องที่ 1 - 16 )

ช่วงแรกจะเปิดตัวด้วยบันไดเสียง A ไมเนอร์ ให้อารมณ์ความรู้สึกเหมือนการเกริ่นอะไรบางอย่างก่อนเข้าสู่ Exposition
 

Exposition ( ห้องที่ 16 - 25 )

ในช่วง Exposition มีทำนองหลักทั้งหมด 2 ทำนอง

 

Theme 1 ทำนองหลักที่ 1 (ห้องที่ 16 - 25)

g2.jpg

รูปที่ 2 : Grand Overture ( ห้องที่ 16 - 25 )

เริ่มต้นช่วงนี้ด้วยบันใดเสียง A เมเจอร์  ในห้องที่ 16 - 25 กีตาร์นำเสนอทำนองหลักด้วยคอร์สเมเจอร์และใช้จังหวะยกตั้งแต่เริ่มต้น Theme 1 จึงให้อารมณ์ความรู้สึกที่ร่าเริงสดใสตามสไตล์การแต่งเพลงของผู้ประพันธ์
 

Exposition : Theme 1 , Part 2 ( ห้องที่ 25 - 41 )

g3.jpg

รูปที่ 3 : Grand Overture ( ห้องที่  25- 41 )

เข้าThemeที่1 ส่วนที่ 2 และยังอยู่ในบันใดเสียง A เมเจอร์
 

Key Change ( ห้องที่ 43 )

g4.jpg

รูปที่ 4 : Grand Overture ( ห้องที่  42 - 43 )

ในห้องที่ 42 ของช่วง Exposition มีการใช้ขั้นคู่ครึ่งเสียง (chromatic)ในการเปลี่ยนบันไดเสียงเป็นบันใดเสียง C เมเจอร์ซึ่งมีความสัมพันธ์กับบันใดเสียง A ไมเนอร์( Parallel Key )จึงสามารถเปลี่ยนคีย์ได้ในห้องที่ 43 ก่อนเข้าช่วง Transition ให้อารมณ์ความรู้สึกในช่วงเปลี่ยนบันใดด้วยความรู้สึกตกใจนิดๆ
 

Transition ( ห้องที่ 44 - 51 )

g5.jpg

รูปที่ 5 : Grand Overture ( ห้องที่  44 - 51 )

Theme 2 , Part 1 ( ห้องที่ 52 - 62 )

g6.jpg

รูปที่ 6 : Grand Overture ( ห้องที่  52 - 62 )

มีการใช้สเกลครึ่งเสียง ( Chomartic ) ก่อนเข้า Theme 2 เพื่อทำให้ตัวเพลงมีความต่อกันมากขึ้น

Theme 2 Part 2 นั้นค่อนข้างแตกต่างจาก Part1 พอสมควร มีใช้เบส และ เมโลดี้ในการถามตอบ จากอารมณ์อ่อนหวานกลับมาเป็นอารมณ์สนุกร่าเริงอีกครั้ง มีการเล่นขั้นคู่และพัฒนาจากขั้นคู่มาเป็นอะเพดจีโอ้เพื่อที่จากโชว์เทคนิคของตัวผู้เล่น

ส่วนขยาย ( ห้องที่ 62 - 87 )

g7.jpg

รูปที่ 7 : Grand Overture ( ห้องที่  62 - 87 )

ห้องที่ 62 มีการโชว์เทคนิคอเพดจีโอ้โดยมือข้างซ้ายจะกดขั้นคู่ ( คู่ 3 ) ของตัวผู้เล่น ซึ่งการเล่นเทคนิคนี้ ถ้าจะเล่นความเร็วตามแบบที่นักแต่งเพลงต้องการนั้น ต้องใช้ความเร็วและความคล่องของทั้งสองมือซึ่งค่อนข้างยากที่ผู้เล่นจะเล่นได้ตามความเร็วที่นักแต่งเพลงต้องการจึงทำให้ผู้เล่นต้องฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอโดยที่วิธีการฝึกซ้อมนั้นจะแตกต่างออกไป ( แล้วแต่ว่าผู้เล่นจะฝึกซ้อมยังไง ) ในส่วนของผมนั้นผมฝึกซ้อมโดยใช้วิธีวางแผนนิ้วให้สมองเกิดการคิดก่อนที่จะลงมือทำ พอเริ่มรู้สึกว่านิ้วเริ่มควบคุมได้ก็จะเริ่มซ้อมกันเมโทนอมแล้วเร่งความเร็วไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงความเร็วที่นักแต่งเพลงต้องการ 

Deverlopment ( ห้องที่ 88 - 126 )

g8.jpg

รูปที่ 8 : Grand Overture ( ห้องที่  88 - 126 )

จบจากทำนองหลักที่ 2 เข้าสู่ช่วงการพัฒนา ( Development ) มีการเปลี่ยนบันไดเป็น C เมเจอร์ โดยใช้เทคนิคการเปลี่ยนบันใดเสียงในรูปแบบที่เรียกว่าเทคนิค Holdnote เป็นการ Holdnote ตัว E ซึ่งโน็ตตัว E เป็นโน้ตร่วมในบันใดเสียง C เมเจอร์และบันไดเสียง A เมเจอร์ ในทางทฎษฎีเป็นอีก 1 วิธีในการเปลี่ยนบันใดเสียง
 

Recapitulation ( ห้องที่ 127 - 143 )

g9.jpg

รูปที่ 9 : Grand Overture ( ห้องที่  88 - 126 )

สิ้นสุดช่วงการพัฒนา เข้าสู่ช่วงย้อนต้นในห้องที่ 127
 

Key Change ( ห้องที่ 144 - 149 )

g10.jpg

รูปที่ 10 : Grand Overture ( ห้องที่  144 - 149 )

ในห้องที่ 144  มีการใช้ขั้นคู่ครึ่งเสียง ( chromatic ) ในการเปลี่ยนบันไดเสียงเป็นบันใดเสียง F เมเจอร์ในห้องที่ 144 ก่อนเข้าช่วง Transition ให้อารมณ์ความรู้สึกในช่วงเปลี่ยนบันไดด้วยความรู้สึกตกใจ

Key Change ( ห้องที่ 150 - 154 )

g11.jpg

รูปที่ 11 : Grand Overture ( ห้องที่  150 - 154 )

ในห้อง 150 กลับเข้าสู่ช่วง Transition ที่แตกต่างกลับ Transition ช่วงต้น มีการใช้จังหวะที่เหมือนกับ Transition ในช่วงก่อนแต่ในส่วนของโน้ตนั้นได้มีการพัฒนาจากโน้ตปกติเป็นการใช้ขั้นคู่ ( คู่3 )  
 

Theme 1 , Part 2  ( ห้องที่ 155 - 162 )

g12.jpg

รูปที่ 12 : Grand Overture ( ห้องที่  155 - 162 )

มีการใช้สเกลครึ่งเสียงก่อนเข้าช่วง Theme 2 เพื่อทำให้ตัวเพลงมีความต่อเนื่องในเรื่องของเสียงมากขึ้น

Theme 2 Part 2 นั้นค่อนข้างคล้ายกับ Part 1 มีการเปลี่ยนจากการใช้เบส และ เมโลดี้ในการถามตอบเหมือน Part 1 แต่มีการเปลี่ยนบันใดเสียงเป็นบันไดเสียง F เมเจอร์ 

Theme 1 , Part 2  ( ห้องที่ 155 - 162 )

g13.jpg

รูปที่ 13 : Grand Overture ( ห้องที่  163 - 164 )

มีการใช้ขั้นคู่ ( คู่ 3 ) เพราะเตรียมเข้าสู่ช่วงขยาย
 

ส่วนขยาย  ( ห้องที่ 165 - 190 )

g14.jpg

รูปที่ 14 : Grand Overture ( ห้องที่  165 - 190 )

ห้องที่ 165 มีการโชว์เทคนิคอเพดจีโอ้ของตัวผู้เล่นซึ่งเป็นเทคนิคและวิธีการซ้อมเดียวกันกับส่วนขยายก่อนหน้านี้ที่ผู้วิเคราะห์ได้อธิบายไว้ข้างต้น ในส่วนนี้ให้อารมณ์ความรู้สึกที่ร่าเริงมากขึ้นจากช่วงก่อน
 

Coda ( ห้องที่ 191 - 220 )

g15.jpg

รูปที่ 14 : Grand Overture ( ห้องที่  191 - 220 )

จบจากTheme 2 เข้าสู่ช่วง Coda ในช่วงนี้มีการหยิบยืมเทคนิคจากช่วงอื่นๆเช่น ช่วง การพัฒนา และ ส่วนขยาย เพื่อใช้ในการสรุปสิ่งที่เล่นมาทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบเพลง

bottom of page